ประวัติโรงเรียนด่านทับตะโกราชนูปถัมภ์
ชื่อโรงเรียน : โรงเรียนด่านทับตะโกราษฎร์อุปถัมภ์
สถานที่ตั้ง : หมู่ที่ 2 ตำบลด่านทับตะโก อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 กระทรวงศึกษาธิการ
บริเวณโรงเรียน : มีเนื้อที่ 35 ไร่ 3 งาน
วันก่อตั้งโรงเรียน : วันที่ 20 พฤษภาคม 2523
ประวัติโรงเรียนโดยสังเขป
โรงเรียนด่านทับตะโกราษฎร์อุปถัมภ์ จัดตั้งโดยความร่วมมือของประชาชนในเขตตำบล ด่านทับตะโก โดยกำนันลอย สามปั้น มอบที่ดินจำนวน 35 ไร่ 3 งาน ให้แก่ทางราชการสร้างเป็นโรงเรียนประจำตำบล ในปี พ. ศ. 2523 และประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขนาด 7 x 21 เมตร จำนวน 1 หลัง และได้เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2523 มีนายวิชัย ซื่อศรีสวัสดิ์ เป็นครูใหญ่ มีครูบรรจุใหม่ 4 คน นักเรียน 48 คน โรงเรียน ได้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ
ในปี พ. ศ. 2536 โรงเรียนได้ดำเนินการก่อสร้างห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และอาคารดนตรีไทย โดยใช้งบประมาณจากการสนับสนุนของ” พระครูสุนทรธรรมกิจ ( หลวงปู่หยอด) “ เจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ พร้อมทั้งคณะกรรมการศึกษา นอกโรงเรียน ภายใต้การนำของกำนันลอย สามปั้น กำนันตำบลด่านทับตะโก ตลอดทั้งคณะครู อาจารย์ นักเรียนและนักการภารโรงของโรงเรียน จนแล้วเสร็จในปีเดียวกัน ในปีการศึกษา 2538 โรงเรียนเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายและได้ทำการสอนมาแล้ว 25 ปี โดยมีอาคารเรียนถาวร 2 หลัง อาคารเรียนชั่วคราวกึ่งถาวร 1 หลัง โรงฝึกงาน 1 หลัง อาคารห้องสมุด 1 หลัง อาคารดนตรีไทย 1 หลัง โรงอาหาร 1 หลัง และหอประชุมโรงอาหาร 100/27 1 หลัง บ้านพักนักเรียน 2 หลัง บ้านพักครู 7 หลัง บ้านพักนักการ 2 หลัง 1.2 ขนาดและที่ตั้ง โรงเรียนด่านทับตะโกราษฎร์อุปถัมภ์ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก มีเนื้อที่ 35 ไร่ 3 งาน ตั้งอยู่หมู่ 2 ตำ บลด่านทับตะโก อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี รหัสไปรษณีย์ 70150 โทรศัพท์ 032-265300 โทรสาร 032-265300 1.3 สภาพชุมชน โรงเรียนด่านทับตะโกราษฎร์อุปถัมภ์ ตั้งอยู่ในเขตตำบลด่านทับตะโก ห่างจากที่ทำการอำเภอจอมบึงประมาณ 18 กิโลเมตร ตำบลด่านทับตะโกจัดเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีพื้นที่กว้าง ลักษณะชุมชน ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวน 20 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อพยพย้ายมาจากถิ่นอื่น เพื่อตั้งบ้านเรือน วิถีชีวิตส่วนใหญ่เป็นแบบดั้งเดิม คือ ประกอบอาชีพการเกษตร ค้าขาย มีส่วนน้อยที่รับราชการ ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวใหญ่ ส่วนด้านวัฒนธรรมและประเพณี มีทั้งที่เป็นแบบไทย จีน ลาว ยังไม่มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน ประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ ( ป.6) ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ค่อยดี มักมีปัญหาครอบครัวและความยากจน ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ เป็นพื้นที่ราบสูง อยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดราชบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี และอำเภอ ด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลชัฎป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลเบิกไพร และตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี โรงเรียนด่านทับโกราษฎร์อุปถัมภ์ เป็นโรงเรียนประจำตำบล โดยมีโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่บริการ ดังนี้
1. โรงเรียนบ้านห้วยท่าช้าง
2. โรงเรียนบ้านหนองปากชัฎ
3. โรงเรียนบ้านหนองสีนวล
4. โรงเรียนบ้านรางเฆ่
5. โรงเรียนบ้านทุ่งกระถิน
6. โรงเรียนบ้านโกรกสิงขร
7. โรงเรียนวัดด่านทับตะโก 1
8. โรงเรียนหนองไก่เถื่อน
9. โรงเรียนบ้านทุ่งแจง
10. โรงเรียนบ้านวังปลา
11. โรงเรียนบ้านสันดอน
12. โรงเรียนบ้านทุ่งแฝก
13. โรงเรียนมหาราช 7
14. โรงเรียนบ้านหุบพริก
15. โรงเรียนบ้านพุตะเคียนในจำนวนนี้ เป็นโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 2 โรงเรียน คือ 1. โรงเรียนบ้านทุ่งกระถิน 2. โรงเรียนมหาราช 7
แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ 23 แผน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 14
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 17
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 21
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 22
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 23
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร ช่วงชั้นที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 / 2552เรื่อง การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบสาร เวลา 4 คาบมาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น สังเกต สำรวจตรวจสอบวิเคราะห์ อภิปรายสมบัติต่างๆ ของสาร จำแนกสารออกเป็นกลุ่มตามเนื้อสาร หรือขนาดของอนุภาคจุดประสงค์การเรียนรู้1. อธิบายกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้2. สามารถนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เนื้อหา- กระบวนการทางวิทยาศาสตร์- ลักษณะนิสัยของนักวิทยาศาสตร์- วิธีการทางวิทยาศาสตร์การจัดกระบวนการเรียนรู้ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน1.ครูผู้สอนแนะนำตัว ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลง แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้เกณฑ์การวัดผล ประเมินผล ผลการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ให้นักเรียนเข้าใจและถือเป็นแนวปฏิบัติครูผู้สอนให้นักเรียนทุกคนนำกระดาษมาคนละ 1 แผ่น แล้วเขียนว่าต้องการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีการใด และอยากให้ครูผู้สอนเป็นอย่างไร แล้วส่งครู2.ครูผู้สอนให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน โดยแบ่งกลุ่มครูผู้สอนจะคละจำนวน ชายและหญิง3.ครูผู้สอนให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มเลือกหัวหน้ากลุ่มขั้นกิจกรรม1.ครูผู้สอนกล่าวนำถึงการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบสาร2.ครูสอนยกตัวอย่างการตรวจสอบสาร ถ้ามีของเหลวสี่ชนิด ไม่ทราบว่าเป็นสารใดบ้าง การทดสอบเพื่อให้ทราบว่าเป็นสารใด มีสมบัติอย่างไร สามารถทดสอบสมบัติของสารได้ เช่น ดูสีและความขุ่นของของเหลว การกรอง ทดสอบความเป็นกรด-เบส ทำการระเหย3.ครูผู้สอนชี้ให้นักเรียนเห็นว่าในการทดสอบสารด้วยวิธีต่างๆ นั้น อาจยังไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นสารชนิดใด จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่นอีก รวมทั้งอาศัยการสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วนอีกด้วย และในการทดลองทำการตรวจสอบสารดังกล่าว นักเรียนต้องระมัดระวัง เช่น การหยิบจับสาร ต้องรู้จักใช้การสังเกตสมบัติของสารแต่ละชนิด เช่น สี กลิ่น โดยอาศัยประสาทสัมผัส ต้องรู้จักใช้สารในปริมาณที่เหมาะสม รู้จักวิธีใช้ที่ถูกต้อง ปลอดภัย ไม่ให้เกิดอันตรายต่อตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม อีกยังเป็นการฝึกฝนให้ผู้เรียนเป็นผู้มีระเบียบวินัยในการทำงาน4.ครูผู้สอนกล่าวนำถึง ถ้านักเรียนสามารถฝึกลักษณะนิสัยให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ ต้องฝึกเป็นคนช่างสังเกต มีเหตุมีผล มีความพยายาม มีความอดทน มีความคิดริเริ่ม และค้นคว้าหาความรู้อย่างมีขั้นตอน5.ครูผู้สอนยกตัวอย่างการเป็นคนช่างสังเกต เช่น กาลิเลโอสังเกตการณ์แกว่งของโคมไฟพบว่า แต่ละรอบใช้เวลาเท่ากัน แม้ว่าช่วงกว้างของการแกว่งจะต่างกัน ซึ่งทำให้เขาค้นพบกฎการแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกา อีกอย่างกาลิเลโอยังสังเกตควงดาวในท้องฟ้าในเวลากลางคืน จึงสร้างกล้องโทรทรรศน์ เพื่อใช้สังเกตดวงจันทร์และดวงดาวต่างๆ6.ครูผู้สอนยกตัวอย่างการเป็นคนช่างคิดช่างสงสัย เช่น เซอร์ ไอแซก นิวตัน ครั้งหนึ่งนิวตันนั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ล เขาเห็นลูกแอปเปิ้ลตกลงสู่พื้นดินนิวตันเกิดความสงสัยว่าเมื่อแอปเปิ้ลหลุดจากต้น ทำไมจึงตกลงสู่พื้น ไม่ล่องลอยไปในอากาศ ความสงสัยดังกล่าวทำให้ นิวตันศึกษาค้นคว้าหาเหตุผลและเข้าใจว่า แอปเปิ้ลตกลงสู่พื้นด้วยแรงดึงดูดของโลก และต่อมาได้สรุปเป็นกฎแรงดึงดูดซึ่งใช้เป็นกฎสากล เรียกว่า “กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน”7.ครูผู้สอนยกตัวอย่างการเป็นคนมีความพยายาม เช่น ทอมัส แอลวา เอดิสัน เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกผู้หนึ่งซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์ในการประดิษฐ์หลอดไฟฟ้านั้น เขาได้นำวัสดุเกือบทุกอย่างที่พบเห็นมาทดลองทำไส้หลอดไฟฟ้า เขาคร่ำเคร่งทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า โดยไม่ท้อถอยเป็นเวลานานถึงปีกว่าจึงประสบความสำเร็จ หลอดไฟฟ้าที่ทำให้ทั่วโลกสว่างไสวในยามค่ำคืน8.ครูผู้สอนยกตัวอย่างมีความคิดริเริ่ม เช่น โรเจอร์ เบคอน คิดว่ามนุษย์จะบินได้เหมือนนก ถ้ามีปีก ต่อมา ลีโอนาโด ดาวินชี นำความคิดนี้ไปวาดเป็นรูปจำลองของปีกแต่ยังไม่ได้สร้างหรือประดิษฐ์อะไร ต่อมา เซอร์ยอร์จ เคย์ลีย์ เริ่มสร้างเครื่องร่อน และต่อมา วิลเบอร์ และออร์วิล ไรต์ (สองพี่น้องตระกลูไรต์) ได้สร้างเครื่องร่อน และปรับปรุงจนเป็นเครื่องบิน9.ครูผู้สอนอธิบายการทำงาน ค้นคว้าความรู้ อย่างมีระบบ มีขั้นตอน โดยยกตัวอย่างวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมี 5 ขั้นตอน การตั้งปัญหา การตั้งสมมติฐาน การค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลการทำการทดลอง สรุปผลขั้นสรุป1.ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันสรุป การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบสารสื่อการเรียนการสอน- หนังสือแบบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- สื่อ Power Point เรื่อง การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบสาร- แบบฝึกหัดเรื่อง การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบสารการวัดและการประเมินผล1. วิธีวัดแลประเมินผล(1) ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน(2) ตรวจจากแบบฝึกหัดที่ 1.1-1.2 เรื่อง การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์2. เครื่องมือวัดและประเมินผล(1) แบบประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน(2) แบบฝึกหัดที่ 1.1-1.2 เรื่อง การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ใ3. เกณฑ์การวัดและประเมินผล(1) แบบประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงานได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์(2) ตอบคำถามจากแบบฝึกหัดที่ 1.1-1.2 เรื่อง การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกต้องเกินร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ช่วงชั้นที่ 3 ภาคเรียนที่ 1/2552เรื่อง การใช้กล้องจุลทรรศน์ เวลา 2 คาบมาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่หน้าของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิตมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น สำรวจตรวจสอบ และอธิบายลักษณะและรูปร่างของเซลล์ต่าง ๆของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์หน้าที่ของส่วนประกอบของเซลล์พืช และเซลล์สัตว์ รวมทั้งกระบวนการที่สารผ่านเซลล์จุดประสงค์การเรียนรู้1.บอกส่วนประกอบหน้าที่ของกล้องจุลทรรศน์ได้2.สามารถใช้กล้องจุลทรรศน์ได้เนื้อหา (รายละเอียดของเนื้อหา อยู่ในใบความรู้ที่ 15เรื่องเซลล์ :หน่วยของสิ่งมีชีวิต )- ประวัติของกล้องจุลทรรศน์- ส่วนประกอบต่าง ๆ ของกล้องจุลทรรศน์- หน้าที่ของส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์- วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์- ข้อควรระมัดระวังในการใช้กล้องจุลทรรศน์การจัดกระบวนการเรียนรู้1. ขั้นสร้างความสนใจครูผู้สอนทบทวนบทเรียน เรื่องสิ่งมีชีวิตและแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ2. ขั้นสำรวจและค้นหา1.แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 6 กลุ่ม2.ครูผู้สอนนำเสนอเริ่มต้น โดยการใช้ PowerPoint เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์ ในการเกริ่นนำประวัติการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์3. ครูผู้สอนแจกใบความรู้ ใบกิจกรรม และแบบฝึกหัดเรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์ ให้นักเรียนทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้3.1 ให้นักเรียนศึกษาสังเกตส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ และหน้าที่ของส่วนประกอบนั้น ๆ3.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาสังเกต โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำ3.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มรายงายผลการศึกษาสังเกตส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์3.4 ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการศึกษาสังเกตส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ และหน้าที่ของส่วนประกอบนั้น ๆ4.ครูผู้สอนนำเสนอเนื้อหาเพิ่มเติมโดยโดยการใช้ PowerPoint เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์5.ครูผู้สอนเชื่อมโยงการศึกษาสังเกตส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ และหน้าที่ของส่วนประกอบนั้น ๆ ไปสู่วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์และข้อควรระมัดระวังในการใช้กล้องจุลทรรศน์โดยการนำเสนอ PowerPoint เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์6.ครูผู้สอนเชื่อมโยงเนื้อหาไปสู่กิจกรรมการใช้กล้องจุลทรรศน์ และให้นักเรียนทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้6.1 ครูผู้สอนให้นักเรียนเตรียมสไลด์โดยมีครูผู้สอนแนะนำตามขั้นตอน6.2 ครูผู้สอนและนักเรียนเตรียมสไลด์ไปพร้อมกัน6.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มนำแผ่นสไลด์ที่เตรียมไว้ไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์6.4 นักเรียนบันทึกผลการทดลองลงในใบกิจกรรมที่ 16 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์6.5 นักเรียนแต่ละกลุ่มรายงานผลการทดลอง7. ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทดลองและสรุปผลการทดลอง3. ขั้นลงข้อสรุป1. ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์สื่อการเรียนการสอน- ใบความรู้ที่ 15 เรื่องเซลล์ : หน่วยของสิ่งมีชีวิต- ใบกิจกรรมที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์- แบบฝึกหัดที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์- สื่อ PowerPoint เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์การวัดและการประเมินผล1.วิธีวัดแลประเมินผล(1) ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน(2) ตรวจจากใบกิจกรรมที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์(3) ตรวจจากแบบฝึกหัดที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์2.เครื่องมือวัดและประเมินผล(1) แบบประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน(2) ใบกิจกรรมที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์(3) แบบฝึกหัดที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์3.เกณฑ์การวัดและประเมินผล(1) แบบประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงานได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์(2) เขียนบันทึกผลการทดลองจากใบกิจกรรมที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์ได้ถูกต้องเกินร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์(3) ตอบคำถามจากแบบฝึกหัดที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์ได้ถูกต้องเกินร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
วันพุธ, ตุลาคม 14, 2009
ระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาหญิง1. กรณีทรงผมสั้นหวีให้สุภาพ ถ้าผมทรงยาวต้องรวบรัดเครื่องตกแต่งสีเข้มกลมกลืนกับผม ห้ามย้อมสีผมที่ต่างไปจากธรรมชาติ ตกแต่งใบหน้าดูสุภาพ ถ้าใส่ตุ้มหูจะต้องสภาพแนบหู2.เสื้อเชิ้ตสีขาวเนื้อเรียบ ปราศจากรวดลาย ลูกไม้เกร็ดรัดตัว ขนาดตัวเสื้อและความยาวแขนเสื้อเหมาะสมกับรูปร่าง กรณีชุดพิธีต้องกลัดกระดุมคอสอดชายเสื้อไว้ในขอบกระโปรงพองามเปิดหัวเข็มขัดตรามหาวิทยาลัย3. กระโปรงผ้าเนื้อเรียบหนาสีดำหรือกรมท่าเข็ม ถ้าเป็นกระโปรงทรงสั้นความยาวคลุมดุมเข่าลงมา 3 นิ้ว ถ้าเป็นกระโปรงทรงยาวจะต้องเหนือส้นเท้า 10 นิ้ว เป็นอย่างน้อยไม่ตกแต่งกระโปรงด้วย กระเป๋าเกล็ด ผ่า แหวก ใดๆทั้งสิ้น4. รองเท้าคัดชูหุ้มหน้าและส้นเท้า5. เสื้อสีประจำโปรแกรมวิชาห้ามใส่มาปฏิบัติงานในเวลา เฉพาะโปรแกรมวิชาศฺลปศึกษาและพลศึกษาจะใช้เฉพาะเข้าสอนภาคปฏิบัติเท่านั้น ระเบียบข้อปฏิบัติระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ข้อปฏิบัติของนักศึกษาระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู1. แต่งเครื่องแบบนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง2. ลงเวลามาทำงาน เวลากลับและลงลายมือชื่อในใบลงเวลาฝึกงานทุกวัน3. ในกรณีที่จำเป็นไปปฏิบัติงานไม่ได้ ให้ส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาและเก็บใบลาที่ผู้บังคับบัญชาอนุญาตแล้วนำมาแสดงต่ออาจารย์ นิเทศก์อีกครั้งหนึ่ง4. ต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยฝึกสอนนั้นโดยเคร่งครัด5. ห้ามมิให้เปิดเผยความลับของสถานที่ที่นักศึกษาไปฝึกสอน6. ให้บันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันลงในเอกสารฝึกสอน และมอบให้ผู้ควบคุมการฝึกงานตรวจสอบ ให้ข้อเสนอแนะและลงรายชื่อกำกับทุกสัปดาห์7. เสนอเอกสารการฝึกสอนให้อาจารย์นิเทศตรวจทุกครั้ง ที่อาจารย์นิเทศก์ไปทำการนิเทศก์ เขียนโดย kapongjung ที่ 8:00 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น โครงการครูสหกิจ นักศึกษาคงทราบแล้วว่ารุ่นพี่ ปี 5 ของคณะครุศาสตร์ กำลังฝึกปฏิบัติการสอน ในสถานศึกษาเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือ 2 ภาคเรียน ซึ่งผ่านมาแล้วเกือบ 1 ภาคเรียน ในการฝึกปฏิบัติการสอนครั้งนี้ เป็นการฝึกในโครงการ ครูสหกิจศึกษา ครูสหกิจคืออะไร ครูสหกิจเป็นโครงการที่สำนักงานการอุดมศึกษา (ส.ก.อ.) ทำโครงการขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาครูขาดแคลน โดยความร่วมมือกันระหว่าง สถานศึกษา และโรงเรียนที่ขาดแคลน หลักการ1. การปฏิบัติการสอนของนักศึกษาครูในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูให้เป็นไปโดยความสมัครใจของนักศึกษา2. นักศึกษาครุที่จะเข้าร่วมโครงการต้องเป็นนักศึกษาครูหลักสูตร 5 ปี3. ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาได้แก่ภาคเรียนที่ 2 ของชั้นปีที่ 4 และภาคเรียนที่ 1 ชั้นปีที่ 54. การนิเทศการสอนของนักศึกษาเป็นการดำเนินงานร่วมกับ 3 ฝ่าย ได้แก่ สถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ในพื้นที่และครูผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียน5. ค่าตอบแทนการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาในอัตรา 1,200 บาท/สัปดาห์ หรือ 4,800 บาท/เดือนโครงการนี้มีระยะดำเนินการ 2550-2553 แล้วแต่ว่ารัฐบาลจะอนุมัติให้ดำเนินการต่อหรือไม่ ก็คงต้องติดตามต่อไปสิ่งที่อยากได้จากนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จากที่มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียน ครูพี่เลี้ยง โรงเรียน ฝึกปฏิบัติการสอนของปี 5 วันที่ 28 สิงหาคม 2552ได้มีการรวบรวมเสนอผลของการอภิปรายร่วมกันดังนี้สิ่งที่ผู้บริหารและอาจารย์พี่เลี้ยงอยากเห็นในตัวนักศึกษาฝึกสอน คือ1. สุขภาพร่างกาย แข็งแรง สดชื่น กระฉับกระเฉง2. มีการเตรียมการสอนอย่างดี มีสื่อที่สร้างขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ3. แต่งกายเรียบร้อย ตั้งแต่ทรงผมจรดรองเท้า4. นักศึกษาควรรู้กฎระเบียบหรือวัฒนธรรมองค์กรในโรงเรียนที่ไปฝึกสอนและมีการปรับตัวที่ดี5. อยากให้นักศึกษามีลักษณะเสนอตัวต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน หรือ ครู อาจารย์ ในโรงเรียน6. อยากให้นักศึกษาไปโรงเรียนแต่เช้า และทำงานเต็มเวลา7. ควรมีความรู้อื่น ๆ นอกจากวิชาเอก หมายถึงควรสอนได้หลากหลาย8. อยากให้มีความคิดสร้างสรรค์ และแสวงหา สิ่งใหม่ ๆ ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูในโรงเรียนบ้าง9. อยากให้นักศึกษาฝึกสอนมีลักษณะ Love of Wisdom คือ ใฝ่รู้ มีความ Active พร้อมที่จะเข้าไปเรียนรู้งานต่าง ๆ
เขียนโดย krupla ที่ 12:58 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น
วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น