มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
วันทนี ประเทืองผล
สุรัตน์ เสมอภพ
วิรัตน์ ดวงแก้ว
พจชมาศ ทองทับทิม
แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ 23 แผน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 14
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 17
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 21
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 22
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 23
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร ช่วงชั้นที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 / 2552เรื่อง การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบสาร เวลา 4 คาบมาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น สังเกต สำรวจตรวจสอบวิเคราะห์ อภิปรายสมบัติต่างๆ ของสาร จำแนกสารออกเป็นกลุ่มตามเนื้อสาร หรือขนาดของอนุภาคจุดประสงค์การเรียนรู้1. อธิบายกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้2. สามารถนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เนื้อหา- กระบวนการทางวิทยาศาสตร์- ลักษณะนิสัยของนักวิทยาศาสตร์- วิธีการทางวิทยาศาสตร์การจัดกระบวนการเรียนรู้ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน1.ครูผู้สอนแนะนำตัว ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลง แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้เกณฑ์การวัดผล ประเมินผล ผลการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ให้นักเรียนเข้าใจและถือเป็นแนวปฏิบัติครูผู้สอนให้นักเรียนทุกคนนำกระดาษมาคนละ 1 แผ่น แล้วเขียนว่าต้องการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีการใด และอยากให้ครูผู้สอนเป็นอย่างไร แล้วส่งครู2.ครูผู้สอนให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน โดยแบ่งกลุ่มครูผู้สอนจะคละจำนวน ชายและหญิง3.ครูผู้สอนให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มเลือกหัวหน้ากลุ่มขั้นกิจกรรม1.ครูผู้สอนกล่าวนำถึงการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบสาร2.ครูสอนยกตัวอย่างการตรวจสอบสาร ถ้ามีของเหลวสี่ชนิด ไม่ทราบว่าเป็นสารใดบ้าง การทดสอบเพื่อให้ทราบว่าเป็นสารใด มีสมบัติอย่างไร สามารถทดสอบสมบัติของสารได้ เช่น ดูสีและความขุ่นของของเหลว การกรอง ทดสอบความเป็นกรด-เบส ทำการระเหย3.ครูผู้สอนชี้ให้นักเรียนเห็นว่าในการทดสอบสารด้วยวิธีต่างๆ นั้น อาจยังไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นสารชนิดใด จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่นอีก รวมทั้งอาศัยการสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วนอีกด้วย และในการทดลองทำการตรวจสอบสารดังกล่าว นักเรียนต้องระมัดระวัง เช่น การหยิบจับสาร ต้องรู้จักใช้การสังเกตสมบัติของสารแต่ละชนิด เช่น สี กลิ่น โดยอาศัยประสาทสัมผัส ต้องรู้จักใช้สารในปริมาณที่เหมาะสม รู้จักวิธีใช้ที่ถูกต้อง ปลอดภัย ไม่ให้เกิดอันตรายต่อตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม อีกยังเป็นการฝึกฝนให้ผู้เรียนเป็นผู้มีระเบียบวินัยในการทำงาน4.ครูผู้สอนกล่าวนำถึง ถ้านักเรียนสามารถฝึกลักษณะนิสัยให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ ต้องฝึกเป็นคนช่างสังเกต มีเหตุมีผล มีความพยายาม มีความอดทน มีความคิดริเริ่ม และค้นคว้าหาความรู้อย่างมีขั้นตอน5.ครูผู้สอนยกตัวอย่างการเป็นคนช่างสังเกต เช่น กาลิเลโอสังเกตการณ์แกว่งของโคมไฟพบว่า แต่ละรอบใช้เวลาเท่ากัน แม้ว่าช่วงกว้างของการแกว่งจะต่างกัน ซึ่งทำให้เขาค้นพบกฎการแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกา อีกอย่างกาลิเลโอยังสังเกตควงดาวในท้องฟ้าในเวลากลางคืน จึงสร้างกล้องโทรทรรศน์ เพื่อใช้สังเกตดวงจันทร์และดวงดาวต่างๆ6.ครูผู้สอนยกตัวอย่างการเป็นคนช่างคิดช่างสงสัย เช่น เซอร์ ไอแซก นิวตัน ครั้งหนึ่งนิวตันนั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ล เขาเห็นลูกแอปเปิ้ลตกลงสู่พื้นดินนิวตันเกิดความสงสัยว่าเมื่อแอปเปิ้ลหลุดจากต้น ทำไมจึงตกลงสู่พื้น ไม่ล่องลอยไปในอากาศ ความสงสัยดังกล่าวทำให้ นิวตันศึกษาค้นคว้าหาเหตุผลและเข้าใจว่า แอปเปิ้ลตกลงสู่พื้นด้วยแรงดึงดูดของโลก และต่อมาได้สรุปเป็นกฎแรงดึงดูดซึ่งใช้เป็นกฎสากล เรียกว่า “กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน”7.ครูผู้สอนยกตัวอย่างการเป็นคนมีความพยายาม เช่น ทอมัส แอลวา เอดิสัน เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกผู้หนึ่งซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์ในการประดิษฐ์หลอดไฟฟ้านั้น เขาได้นำวัสดุเกือบทุกอย่างที่พบเห็นมาทดลองทำไส้หลอดไฟฟ้า เขาคร่ำเคร่งทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า โดยไม่ท้อถอยเป็นเวลานานถึงปีกว่าจึงประสบความสำเร็จ หลอดไฟฟ้าที่ทำให้ทั่วโลกสว่างไสวในยามค่ำคืน8.ครูผู้สอนยกตัวอย่างมีความคิดริเริ่ม เช่น โรเจอร์ เบคอน คิดว่ามนุษย์จะบินได้เหมือนนก ถ้ามีปีก ต่อมา ลีโอนาโด ดาวินชี นำความคิดนี้ไปวาดเป็นรูปจำลองของปีกแต่ยังไม่ได้สร้างหรือประดิษฐ์อะไร ต่อมา เซอร์ยอร์จ เคย์ลีย์ เริ่มสร้างเครื่องร่อน และต่อมา วิลเบอร์ และออร์วิล ไรต์ (สองพี่น้องตระกลูไรต์) ได้สร้างเครื่องร่อน และปรับปรุงจนเป็นเครื่องบิน9.ครูผู้สอนอธิบายการทำงาน ค้นคว้าความรู้ อย่างมีระบบ มีขั้นตอน โดยยกตัวอย่างวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมี 5 ขั้นตอน การตั้งปัญหา การตั้งสมมติฐาน การค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลการทำการทดลอง สรุปผลขั้นสรุป1.ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันสรุป การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบสารสื่อการเรียนการสอน- หนังสือแบบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- สื่อ Power Point เรื่อง การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบสาร- แบบฝึกหัดเรื่อง การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบสารการวัดและการประเมินผล1. วิธีวัดแลประเมินผล(1) ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน(2) ตรวจจากแบบฝึกหัดที่ 1.1-1.2 เรื่อง การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์2. เครื่องมือวัดและประเมินผล(1) แบบประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน(2) แบบฝึกหัดที่ 1.1-1.2 เรื่อง การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ใ3. เกณฑ์การวัดและประเมินผล(1) แบบประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงานได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์(2) ตอบคำถามจากแบบฝึกหัดที่ 1.1-1.2 เรื่อง การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกต้องเกินร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ช่วงชั้นที่ 3 ภาคเรียนที่ 1/2552เรื่อง การใช้กล้องจุลทรรศน์ เวลา 2 คาบมาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่หน้าของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิตมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น สำรวจตรวจสอบ และอธิบายลักษณะและรูปร่างของเซลล์ต่าง ๆของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์หน้าที่ของส่วนประกอบของเซลล์พืช และเซลล์สัตว์ รวมทั้งกระบวนการที่สารผ่านเซลล์จุดประสงค์การเรียนรู้1.บอกส่วนประกอบหน้าที่ของกล้องจุลทรรศน์ได้2.สามารถใช้กล้องจุลทรรศน์ได้เนื้อหา (รายละเอียดของเนื้อหา อยู่ในใบความรู้ที่ 15เรื่องเซลล์ :หน่วยของสิ่งมีชีวิต )- ประวัติของกล้องจุลทรรศน์- ส่วนประกอบต่าง ๆ ของกล้องจุลทรรศน์- หน้าที่ของส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์- วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์- ข้อควรระมัดระวังในการใช้กล้องจุลทรรศน์การจัดกระบวนการเรียนรู้1. ขั้นสร้างความสนใจครูผู้สอนทบทวนบทเรียน เรื่องสิ่งมีชีวิตและแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ2. ขั้นสำรวจและค้นหา1.แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 6 กลุ่ม2.ครูผู้สอนนำเสนอเริ่มต้น โดยการใช้ PowerPoint เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์ ในการเกริ่นนำประวัติการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์3. ครูผู้สอนแจกใบความรู้ ใบกิจกรรม และแบบฝึกหัดเรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์ ให้นักเรียนทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้3.1 ให้นักเรียนศึกษาสังเกตส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ และหน้าที่ของส่วนประกอบนั้น ๆ3.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาสังเกต โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำ3.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มรายงายผลการศึกษาสังเกตส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์3.4 ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการศึกษาสังเกตส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ และหน้าที่ของส่วนประกอบนั้น ๆ4.ครูผู้สอนนำเสนอเนื้อหาเพิ่มเติมโดยโดยการใช้ PowerPoint เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์5.ครูผู้สอนเชื่อมโยงการศึกษาสังเกตส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ และหน้าที่ของส่วนประกอบนั้น ๆ ไปสู่วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์และข้อควรระมัดระวังในการใช้กล้องจุลทรรศน์โดยการนำเสนอ PowerPoint เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์6.ครูผู้สอนเชื่อมโยงเนื้อหาไปสู่กิจกรรมการใช้กล้องจุลทรรศน์ และให้นักเรียนทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้6.1 ครูผู้สอนให้นักเรียนเตรียมสไลด์โดยมีครูผู้สอนแนะนำตามขั้นตอน6.2 ครูผู้สอนและนักเรียนเตรียมสไลด์ไปพร้อมกัน6.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มนำแผ่นสไลด์ที่เตรียมไว้ไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์6.4 นักเรียนบันทึกผลการทดลองลงในใบกิจกรรมที่ 16 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์6.5 นักเรียนแต่ละกลุ่มรายงานผลการทดลอง7. ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทดลองและสรุปผลการทดลอง3. ขั้นลงข้อสรุป1. ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์สื่อการเรียนการสอน- ใบความรู้ที่ 15 เรื่องเซลล์ : หน่วยของสิ่งมีชีวิต- ใบกิจกรรมที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์- แบบฝึกหัดที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์- สื่อ PowerPoint เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์การวัดและการประเมินผล1.วิธีวัดแลประเมินผล(1) ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน(2) ตรวจจากใบกิจกรรมที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์(3) ตรวจจากแบบฝึกหัดที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์2.เครื่องมือวัดและประเมินผล(1) แบบประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน(2) ใบกิจกรรมที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์(3) แบบฝึกหัดที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์3.เกณฑ์การวัดและประเมินผล(1) แบบประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงานได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์(2) เขียนบันทึกผลการทดลองจากใบกิจกรรมที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์ได้ถูกต้องเกินร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์(3) ตอบคำถามจากแบบฝึกหัดที่ 15 เรื่องการใช้กล้องจุลทรรศน์ได้ถูกต้องเกินร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
วันพุธ, ตุลาคม 14, 2009
ระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาหญิง1. กรณีทรงผมสั้นหวีให้สุภาพ ถ้าผมทรงยาวต้องรวบรัดเครื่องตกแต่งสีเข้มกลมกลืนกับผม ห้ามย้อมสีผมที่ต่างไปจากธรรมชาติ ตกแต่งใบหน้าดูสุภาพ ถ้าใส่ตุ้มหูจะต้องสภาพแนบหู2.เสื้อเชิ้ตสีขาวเนื้อเรียบ ปราศจากรวดลาย ลูกไม้เกร็ดรัดตัว ขนาดตัวเสื้อและความยาวแขนเสื้อเหมาะสมกับรูปร่าง กรณีชุดพิธีต้องกลัดกระดุมคอสอดชายเสื้อไว้ในขอบกระโปรงพองามเปิดหัวเข็มขัดตรามหาวิทยาลัย3. กระโปรงผ้าเนื้อเรียบหนาสีดำหรือกรมท่าเข็ม ถ้าเป็นกระโปรงทรงสั้นความยาวคลุมดุมเข่าลงมา 3 นิ้ว ถ้าเป็นกระโปรงทรงยาวจะต้องเหนือส้นเท้า 10 นิ้ว เป็นอย่างน้อยไม่ตกแต่งกระโปรงด้วย กระเป๋าเกล็ด ผ่า แหวก ใดๆทั้งสิ้น4. รองเท้าคัดชูหุ้มหน้าและส้นเท้า5. เสื้อสีประจำโปรแกรมวิชาห้ามใส่มาปฏิบัติงานในเวลา เฉพาะโปรแกรมวิชาศฺลปศึกษาและพลศึกษาจะใช้เฉพาะเข้าสอนภาคปฏิบัติเท่านั้น ระเบียบข้อปฏิบัติระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ข้อปฏิบัติของนักศึกษาระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู1. แต่งเครื่องแบบนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง2. ลงเวลามาทำงาน เวลากลับและลงลายมือชื่อในใบลงเวลาฝึกงานทุกวัน3. ในกรณีที่จำเป็นไปปฏิบัติงานไม่ได้ ให้ส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาและเก็บใบลาที่ผู้บังคับบัญชาอนุญาตแล้วนำมาแสดงต่ออาจารย์ นิเทศก์อีกครั้งหนึ่ง4. ต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยฝึกสอนนั้นโดยเคร่งครัด5. ห้ามมิให้เปิดเผยความลับของสถานที่ที่นักศึกษาไปฝึกสอน6. ให้บันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันลงในเอกสารฝึกสอน และมอบให้ผู้ควบคุมการฝึกงานตรวจสอบ ให้ข้อเสนอแนะและลงรายชื่อกำกับทุกสัปดาห์7. เสนอเอกสารการฝึกสอนให้อาจารย์นิเทศตรวจทุกครั้ง ที่อาจารย์นิเทศก์ไปทำการนิเทศก์ เขียนโดย kapongjung ที่ 8:00 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น โครงการครูสหกิจ นักศึกษาคงทราบแล้วว่ารุ่นพี่ ปี 5 ของคณะครุศาสตร์ กำลังฝึกปฏิบัติการสอน ในสถานศึกษาเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือ 2 ภาคเรียน ซึ่งผ่านมาแล้วเกือบ 1 ภาคเรียน ในการฝึกปฏิบัติการสอนครั้งนี้ เป็นการฝึกในโครงการ ครูสหกิจศึกษา ครูสหกิจคืออะไร ครูสหกิจเป็นโครงการที่สำนักงานการอุดมศึกษา (ส.ก.อ.) ทำโครงการขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาครูขาดแคลน โดยความร่วมมือกันระหว่าง สถานศึกษา และโรงเรียนที่ขาดแคลน หลักการ1. การปฏิบัติการสอนของนักศึกษาครูในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูให้เป็นไปโดยความสมัครใจของนักศึกษา2. นักศึกษาครุที่จะเข้าร่วมโครงการต้องเป็นนักศึกษาครูหลักสูตร 5 ปี3. ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาได้แก่ภาคเรียนที่ 2 ของชั้นปีที่ 4 และภาคเรียนที่ 1 ชั้นปีที่ 54. การนิเทศการสอนของนักศึกษาเป็นการดำเนินงานร่วมกับ 3 ฝ่าย ได้แก่ สถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ในพื้นที่และครูผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียน5. ค่าตอบแทนการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาในอัตรา 1,200 บาท/สัปดาห์ หรือ 4,800 บาท/เดือนโครงการนี้มีระยะดำเนินการ 2550-2553 แล้วแต่ว่ารัฐบาลจะอนุมัติให้ดำเนินการต่อหรือไม่ ก็คงต้องติดตามต่อไปสิ่งที่อยากได้จากนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จากที่มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียน ครูพี่เลี้ยง โรงเรียน ฝึกปฏิบัติการสอนของปี 5 วันที่ 28 สิงหาคม 2552ได้มีการรวบรวมเสนอผลของการอภิปรายร่วมกันดังนี้สิ่งที่ผู้บริหารและอาจารย์พี่เลี้ยงอยากเห็นในตัวนักศึกษาฝึกสอน คือ1. สุขภาพร่างกาย แข็งแรง สดชื่น กระฉับกระเฉง2. มีการเตรียมการสอนอย่างดี มีสื่อที่สร้างขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ3. แต่งกายเรียบร้อย ตั้งแต่ทรงผมจรดรองเท้า4. นักศึกษาควรรู้กฎระเบียบหรือวัฒนธรรมองค์กรในโรงเรียนที่ไปฝึกสอนและมีการปรับตัวที่ดี5. อยากให้นักศึกษามีลักษณะเสนอตัวต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน หรือ ครู อาจารย์ ในโรงเรียน6. อยากให้นักศึกษาไปโรงเรียนแต่เช้า และทำงานเต็มเวลา7. ควรมีความรู้อื่น ๆ นอกจากวิชาเอก หมายถึงควรสอนได้หลากหลาย8. อยากให้มีความคิดสร้างสรรค์ และแสวงหา สิ่งใหม่ ๆ ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูในโรงเรียนบ้าง9. อยากให้นักศึกษาฝึกสอนมีลักษณะ Love of Wisdom คือ ใฝ่รู้ มีความ Active พร้อมที่จะเข้าไปเรียนรู้งานต่าง ๆ
เขียนโดย krupla ที่ 12:58 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น
วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น